การสร้างเว็บไซต์แบบมืออาชีพ

การสร้างเว็บไซต์แบบมืออาชีพ

เมนู

เมต้าแท็ก(Meta tag) คืออะไร


เมต้าแท็ก คืออะไร?

คำว่า meta tags, meta data หรือ meta element คือสิ่งเดียวกัน เป็นส่วนหนึ่งของภาษาที่ใช้สำหรับเขียนเว็บไซต์ หรือ HTML code ซึ่งเมต้าแท็กเหล่านี้ มีหลายประเภท ทำหน้าที่หลายอย่าง  ซึ่งในที่นี่จะอธิบายความรู้พื้นฐาน ความสำคัญ  และการใช้งานเมต้าแท็ก


เรียนรู้วิธีการใช้งานเมต้าแท็กง่ายๆ ด้วย เครื่องมือเมต้าแท็กของ SimpleDiferent (รูปกุญแจข้างๆตัวล็อค มุมขวาของหน้าเว็บ) และเรียนวิธีกรอกข้อมูลเมต้าแท็กให้ได้ผล ซึ่งหากคุณมีข้อสงสัยในการกรอก

คุณสามารถคลิกที่เครื่องหมาย "?" ในวงกลมเล็กๆสีเหลืองข้างๆช่องกรอกข้อมูลได้


ทราบหรือไม่ว่า เมต้าแท็กนั้น   มีส่วนช่วยให้ เครื่องมือค้นหา(Search engines)ต่างๆ พบเว็บคุณได้ ฉะนั้นมาดูวิธีการเขียน เมต้าแท็กที่ถูกต้องกัน


จากนิยายสู่ชีวิตจริง

ผู้คนมักพูดกันว่า เมต้าแท็กเท่านั้น ที่จะทำให้ Search Engines ค้นหาเว็บเราเจอนั้น ไม่ถูกต้องนัก  จริงๆแล้ว เมต้าแท็ก ไม่ได้เป็นเครื่องมือเพียงอย่างเดียว ของ Search engines

เมต้าแท็ก เป็นตัวยืนยันเนื้อหา เพื่อให้ Google และเครื่องมือค้นหาอื่น ๆ มองเห็นและนำมาพิจารณา 

ซึ่งการเขียน การจัดการเนื้อหา การตอบคำถามผู้เข้าชมให้ได้นั้น เป็นสิ่งสำคัญ ที่จะบ่งบอกความมีคุณภาพของเว็บไซต์คุณ  

 

เมต้าแท็กเหล่านี้ เป็นเพียงตัวช่วยเสริม เพื่อให้เครื่องมือค้นหาสามารถมองเห็นเว็บไซต์ของคุณได้เร็วขึ้น    การทำงานของเมต้าแท็กจะช่วยได้ดี     เมื่อข้อมูลในเมต้าแท็กสัมพันธ์กับสิ่งที่ Google มองเห็นเนื้อหาในเว็บคุณ     เมต้าแท็กก็เปรียบเสมือนโบนัสในแง่ของการที่ค้นหา    และการเจอสิ่งที่หา หากข้อมูลเมต้าแท็ก ไม่ตรงตามเนื้อหา ก็จะเกิดผลเสีย


วิธีใส่ เมต้าแท็ก ลงในเว็บไซต์คุณ

คุณสามารถเพิ่มและแก้ไขเมต้าแท็กสำหรับเว็บไซต์คุณได้โดย คลิกที่รูปกุญแจ(มุมขวาบนข้างๆรูปตัวล็อค ใต้เครื่องมือตั้งค่าเว็บไซต์) ใส่เมต้าแท็กตามประเภทที่เขียนไว้ หากต้องการความช่วยเหลือให้คลิกรูปเครื่องหมาย " ? " อยู่ในวงกลมสีเหลือง เพื่ออ่านคำอธิบาย
หมายเหตุ: การใส่คำหลัก ไม่ควรซ้ำกัน ควรมีคำที่ตรงกับเนื้อหาในหน้านั้นๆ

เมต้าแท็ก กับ เครื่องมือค้นหา และ ประสิทธิภาพของเมต้าแท็ก


ช่อง "<title> meta tag" หรือ <หัวเรื่อง>เมต้าแท็ก

เนื้อหาในช่องนี้คือ "หัวเรื่อง หรือ ชื่อเรื่อง" นั่นเอง เมื่อพิมพ์ไปแล้ว จะปรากฎที่ ด้านบนของหน้าต่าง หรือแท็บ เว็บบราวเซอร์นั้นๆ เป็นเหมือนชื่อเรื่องที่คอยแนะว่า เนื้อหาเว็บ หรือหน้านั้นๆจะเกี่ยวกับสิ่งใด ตัวอย่างเช่น ตอนนี้คุณกำลังอ่านหน้านี้อยู่ หากลองมองที่ด้านบนของหน้าต่างนี้ก็จะเขียนว่า "เครื่องมือเมต้าแท็ก-SimpleDifferent"  เมต้าแท็ก ไม่ควรจะยาวมากเกินไป และบอกสิ่งที่เกี่ยวกับเนื้อหาในหน้านั้นๆ


ช่อง "<Description> meta tag หรือ <คำอธิบาย> เมต้าแท็ก

ช่องนี้เป็น"คำอธิบาย" โดยคร่าว  ๆ    เกี่ยวกับเนื้อหาในแต่ละหน้า     ซึ่งจะแสดงเมื่อ หน้าเว็บนั้น ถูกค้นเจอในหน้ากูเกิล คำอธิบายนี้ก็จะอยู่ด้านล่างของตัวหนังสือสีน้ำเงินที่ขีดเส้นใต้ 

คำอธิบายนี้จะช่วยให้ผู้ค้นหา ทราบข้อมูลของเว็บโดยคร่าว ๆ    ก่อนคลิกเข้าชมจริง

Google มักใช้ข้อมูลในช่องนี้ เพื่อเป็นสิ่งยืนยันว่าเนื้อหาในเว็บ เป็นเนื้อเรื่องเดียวกันกับในช่องที่คุณกรอกนี้     ฉะนั้นควรกรอกคำหลัก ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บให้ครบถ้วน (อย่ายาวมาก สรุปเพียง 2-3 ประโยคก็พอ) จะช่วยให้ผู้เข้าชมได้ทราบก่อนเข้าชมเว็บไซต์คุณ

พยายามหลีกเลี่ยงคำกล่าวโฆษณาเกินจริง เช่น ดีที่สุด, มหัศจรรย์, ไม่มีอีกแล้ว, ฯลฯ เพราะกูเกิลจะไม่เชื่อคุณ


ช่อง "<Keywords> meta tag" หรือ <คำหลัก> เมต้าแท็ก

ช่องใส่ คำหลัก ใช้ใส่คำหลักลงไป ซึ่งสำหรับกูเกิลแล้ว คุณสมบัติของช่องนี้ก็ไม่ได้ต่างไปจากช่องอื่นเลย  การใส่คำ แต่ละหน้าควรใส่คำหลักไม่เกิน 5 คำ(เลือกที่สำคัญ) 

อย่าใส่ คำหลัก ที่ไม่มีในเนื้อหาหน้านั้นลงไป


ช่อง"name of this file on server" tag หรือ "ชื่อเอกสาร"

ข้อความในช่องนี้จะแสดงอยู่ด้านหลังสุด ของช่องที่อยู่เว็บไซต์(ช่องที่กรอก www.)

ซึ่งจริงๆแล้วนี่ไม่ใช่ เมต้าแท็ก แต่ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มนี้เพราะ ข้อความในช่องนี้จะช่วยให้ผู้อ่านทราบว่ากำลังอ่านหน้าไหนอยู่และทำให้ Google เข้าใจเว็บคุณมากขึ้น 

 

ข้อความในช่องนี้ก็คล้ายกับ หัวเรื่อง เพราะจะแจ้งให้ผู้เข้าชมทราบว่าเขากำลังอ่านอะไรอยู่(อ่านได้จากช่อง ที่อยู่เว็บไซต์ หรือ ที่ใหกรอก url) ไม่จำเป็นต้องเขียนยาว  สั้น ๆ ได้ใจความ   การตั้งชื่อช่องนี้จะช่วยยืนยันเนื้อหาให้ Google เข้าใจอีกทาง


หมายเหตุ: ควรระวัง   ก่อนกรอกข้อมูลเมต้าเดต้า ต้องพิจารณาคำให้ดีเสียก่อน  เพราะหากคุณเปลี่ยนข้อความจะมีผลต่อการค้นหาด้วย


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับ เมต้าแท็ก ที่นี่

ช่วย Search engines เข้าใจเว็บคุณด้วยการให้ความสำคัญกับเนื้อหาเว็บไซต์
ช่วย Search engines เข้าใจเว็บคุณด้วยการให้ความสำคัญกับเนื้อหาเว็บไซต์

__

เหลือขั้นตอนอีกเล็กน้อย เพื่อเว็บไซต์ที่สมบูรณ์แบบ

พบกับ เว็บไซต์คุณในสายตาของเครื่องมือค้นหา

เครดิต ภาพ