ดูให้ดีว่า หัวเรื่อง เข้ากับเนื้อหาหรือไม่
ประสบการณ์เว็บไซต์ ได้มาจากผู้เข้าชม
ณ ตอนนี้คุณก็ทราบถึงความต้องการของผู้เข้าชมแล้ว
- คุณรู้วิธีการอธิบายสิ่งต่างๆ ให้ผู้เข้าชม เข้าใจได้อย่างไร
- คุณได้สังเกตและเรียนรู้ว่าเว็บไซต์ไม่จำเป็นต้องอ่านทุกอักษร สามารถอ่านแบบข้ามๆ
หรือกลับไปกลับมาได้ - คุณทราบถึงการเลือกใช้คำหลัก(Keywords)เพื่อให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เข้าชม
ถึงเวลารวบรวมเนื้อหาทุกบทหรือบล็อกมาพิจาราณา แล้วเขียนหัวข้อใหม่ โดยนึกอยู่เสมอว่า:
- หัวเรื่องของบทความจะต้องไม่ยาว หรือสั้นเกินไป
- เมื่ออ่านหัวเรื่องแล้ว ผู้อ่านต้องสามารถเดาได้ว่าบทความนั้นกล่าวถึงเรื่องใด
- หัวเรื่องเป็นจุดที่ผู้อ่านมักจะอ่านทุกครั้ง ก่อนเริ่มอ่านเนื้อหา
- เมื่อผู้เข้าชมต้องการหาสิ่งต่างๆ พวกเขาจะอ่านที่หัวเรื่องเพื่อดูว่าเกี่ยวข้องกับสิ่งที่พวกเขาหาหรือไมเครื่องมือค้นหา (Search Engines) จะค้นหาคำหลัก(Keywords) จาก หัวเรื่อง, เนื้อหา, คำอธิบายใต้ภาพ, และ อื่นๆ
คำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับการแก้ไขและตั้งชื่อหัวเรื่อง
เขียนประโยคหรือกลุ่มคำที่ สั้น กระชับ ความหมายครอบคลุม เพราะโดยปกติแล้วเมื่อจะเริ่มอ่านเนื้อเรื่อง
ผู้อ่านย่อมจะอ่านชื่อเรื่องก่อนเสมอ
> ชื่อเรื่องรอง ในแต่ละบล็อก
ในหนึ่งเรื่อง อาจแบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ที่อยู่ในเรื่องหลักก็ได้ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหามากขึ้น สร้างหัวเรื่องรอง (อักษรใหญ่และหนาขึ้น) โดยคลิกที่ "T" ในกล่องแก้ไขข้อความ
> จากภายในสู่ภายนอก
เริ่มจาก แก้ไขชื่อเรื่องรองภายในบทความก่อน แล้วค่อยมาแก้ที่ชื่อเรื่องหลักของหน้านั้นๆ
แล้วไงต่อ?
ตอนนี้เว็บไซต์เริ่มเป็นรูปเป็นร่างแล้ว และผู้เข้าชมสามารถเนื้อหาอ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น ใกล้ถึงเวลาสร้างหน้าหลัก หรือ โฮมเพจแล้ว แต่คุณต้องเรียนรู้ทักษะการนำเสนอเว็บไซต์ ให้โดดเด่นเสียก่อน....
ถึงเวลาที่เว็บคุณจะเปิดตัวให้ผู้อื่นเห็นแล้ว คลิกอ่าน การวางและปรับแต่งลิงค์ให้ได้ผล